วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

PRINCIPLE

Principle
   หลักการ(Principle) คือ ความจริง วิธีการหรือกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานของการกระทำ หรือความประพฤติ เป็นความจริงทั่วๆไปซึ่งประกอบด้วยความจริงอื่นที่รองลงมา     
    หลักการหรือความจริงหลัก คือ กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถนำมาทดลองซ้ำได้ผลเหมือนเดิม


เอกภาพ  (Unity)    
       เอกภาพ  หมายถึง  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความสอดคล้องกลมกลืน  เป็นหน่วยเดียวกัน ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย  โดยการจัดระเบียบของรูปทรง  จังหวะ  เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพจะได้สื่ออารมณ์  ความรู้สึก  ความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว

 ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การเชื่อมโยงเป็นหน่วยเดียวกัน


 ภาพด้านบน เส้นเป็นลักษณะโค้ง เช่น กะละมังที่ผู้หญิงนั่ง และตัวผู้ผญิงคนนี้ก้มลงเส้นขอบของลำตัวเป็นเส้นโค้ง เข้ากับกะละมังแต่ฝั่งขวามือเป็นโต๊ะมีลักษณะสี่เหลี่ยม ตัดกันกันกับวงกลมวิธีการคือการเชื่อมโยงรูปทรงของเรื่องราวให้เข้ากันด้วยการต่อเส้นโดยการเอาแปรงมาวางต่อระหว่างวงกลมกับโต๊ะให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน

 เอกภาพทางแนวคิดเรื่องรูปแบบ และเนื้อหา



ในภาพเป็นแนวคิดเรื่องเดียวกัน คื่อเรื่องความศรัทธา เนื้อหาของภาพเรื่องเดียวกันคือเจดีย์

เอกภาพทางเส้น การประสานกันของเส้นรูปทรงและพื้นผิว



ในภาพนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องเส้น ทิศทางของเส้น รูปทรงของเส้น พื้นผิวเหมือนกัน ผิวเรียบ และวัสดุชนิดเดียวกัน


สมดุล (Balance)

หมายถึง การถ่วงน้ำหนักที่เท่ากันสองข้างของสิ่งของหรือรูปทรงดุลยภาพเกิดจากการถ่วง ดุลของสิ่งที่ขัดแย้งกัน และจากการรวมตัวหรือการซ้ำของสิ่งที่เหมือนกันทั้งสองข้าง

สมดุลสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. สมดุลแบบเหมือนกันทั้งสองข้าง (Symmetrical or Formal Balance)
    หมายถึง ดุลภาพที่เกิดขึ้นจากความเหมือนกันและเท่ากันทั้งสองข้าง เช่น หน้าบันโบสถ์ ลายไทย โบสถ์ สถูปเจดีย์ ดุลยภาพประเภทนี้ให้ความรู้สึกเคร่งขรึม เป็นทางการ และ สงบ



2. สมดุลแบบคล้ายคลึงกันสองข้าง (Approximate Symmetry Balance) 
     หมายถึง ดุลยภาพที่เกิด ขึ้นจากลักษณะคลึงกันถ่วงดุลกัน เช่น ลวดลายบนตู้ลายรดน้ำ เป็นต้น



3. สมดุลแบบไม่เหมือนกันสองข้าง (Assymmetrical Balance) 
    หมายถึง ดุลยภาพที่เกิดขึ้นจาก ลักษณะที่สองข้างไม่เหมือนกัน แต่สามารถถ่วงกันได้


4. สมดุลแบบรัศมี (Radical Balance) 
     ดุลยภาพประเภทนี้เกิดจากแนวทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง และพุ่งออกจากจุด ศูนย์กลาง 
ทำให้ทิศทางสวนทิศทางกัน จึงเกิดดุลยภาพได้




ความตัดกัน (Contrast) 


         คือ การประกอบกันของทัศนธาตุ (Art Element) ต่างๆ ที่ขัดแย้งหรือตัดกัน ทั้งนี้จะ
         ต้องประสานสัมพันธ์กับความกลมกลืนด้วยในงานศิลปะแต่ละชิ้น ควรจะมีองค์ประกอบ
         ของศิลปะให้กลมกลืนเป็นส่วนใหญ่ และให้มีความตัด กันในส่วนน้อย เช่น การตกแต่งสี
         บ้าน ควรใช้สีที่ประสานกลมกลืนกันประมาณ 80% ของเนื้อที่ และอีก 20%ของเนื้อที่ควร
         มีสีที่มีความตัดกัน ความตัดกันนี้จะช่วยให้เกิดความเด่นและช่วย ให้งานศิลปะนั้นแลดูมี
         จุดสนใจ

ประเภทของความตัดกัน 
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ความตัดกันด้วยส่วนประกอบของทัศนธาตุได้แก่ความตัดกันของเส้น รูปร่าง รูปทรง        
    แสง-เงา ที่ว่าง สี และพื้นผิว


2. ความตัดกันหรือขัดแย้งกันตามธรรมชาติ ได้แก่ ความตัดกันซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ใน
    คน พืช    สัตว์  ฯลฯ เช่น ความตัดกันของสีของดอกไม้ สร้างความเด่น และความสวย
    งาม เป็นต้น




ความกลมกลืน (Harmony)

โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง


ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศนศิลป์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความกลมกลืนถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะ ทำให้ผลงานนั้นอาจดูน่าเบื่อได้ จึงต้องมีการ เพิ่มการขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง (Contrast) เข้าไปร่วมบ้างเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลที่น่าสนใจขึ้น


การเน้น (Emphasis)

    คือการทำให้เกิดจุดเด่นในงานออกแบบที่ดีนั้นจะต้องให้ความสำคัญแก่ส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
 การเน้นจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความน่าสนใจและเพิ่มความงามและคุณค่าให้แก่
 งานออกแบบนั้น 
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
                    
1. เน้นจุดเด่นให้เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย
                    
2. เน้นให้เกิดความสวยงาม
                    
3. เน้นเพื่อสื่อความหมาย

การเน้นความแตกต่าง (Emphasis by Contrast)

    กฏเกณฑ์ทั่วไปคือ จุดสนใจเป็นผลมาจากองค์ประกอบสิ่งหสึ่งสิ่งใดที่มีความแตกต่างออกไป
จากสิ่งอื่นอะไรก็ตามที่มีขัดสายตาเวลามอง สิ่งนั้นเป็นการดึงดูดความสนใจด้วยความแปลก
ของตัวเอง ซึ่งมีทางเป็นไปได้มากมายไม่รู้จบ การเน้นด้วยการขัดกันนั้นเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบของภาพที่ขัดกับส่วนอื่นที่นำมาประกอบ สิ่งนั้นจะกลายเป็นจุดสนใจ สิ่งที่นำมาขัดกันนั้นจะเป็นรูปทรง เส้น สี น้ไหนักความเข้ม พื้นผิว หรือขนาดก็ย่อมเกิดผลสำเร็จได้




การเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยว(Emphasis by Isolation)
       
    การเน้นด้วยการขัดกันเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ของการเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยวเมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก  ออกจากส่วนอื่นๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นจะเป็นจุดสนใจ




การเน้นด้วยการวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement)
     
      การวางตำแหน่งในภาพเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างการเน้น ถ้าองค์ประกอบอื่นๆ ชี้มาที่จุดเดียวกัน ความสนใจก็จะมุ่งไปยังจุดนั้น




ระดับความหนักเบาของการเน้น (Degree of Emphasis)
          
     การสร้างองค์ประกอบที่ตัดกันในภาพไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างไรก็ตาม การเน้นจะต้องเป็นไปอย่าง ละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัด จุดสนใจจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของภาพทั้งหมด ไม่ใช่เป็นส่วนประกอบ
ซึ่งแปลกประหลาดอยู่ส่วนเดียว



การขาดจุดสนใจ (Absence of Focal Point)

     จุดสนใจที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไปสำหรับงานออกแบบที่ประสบความสำเร็จ
เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ศิลปินจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องใจของเขา














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น