วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

PRINCIPLE

Principle
   หลักการ(Principle) คือ ความจริง วิธีการหรือกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานของการกระทำ หรือความประพฤติ เป็นความจริงทั่วๆไปซึ่งประกอบด้วยความจริงอื่นที่รองลงมา     
    หลักการหรือความจริงหลัก คือ กลุ่มของความคิดรวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถนำมาทดลองซ้ำได้ผลเหมือนเดิม


เอกภาพ  (Unity)    
       เอกภาพ  หมายถึง  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความสอดคล้องกลมกลืน  เป็นหน่วยเดียวกัน ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย  โดยการจัดระเบียบของรูปทรง  จังหวะ  เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพจะได้สื่ออารมณ์  ความรู้สึก  ความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว

 ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การเชื่อมโยงเป็นหน่วยเดียวกัน


 ภาพด้านบน เส้นเป็นลักษณะโค้ง เช่น กะละมังที่ผู้หญิงนั่ง และตัวผู้ผญิงคนนี้ก้มลงเส้นขอบของลำตัวเป็นเส้นโค้ง เข้ากับกะละมังแต่ฝั่งขวามือเป็นโต๊ะมีลักษณะสี่เหลี่ยม ตัดกันกันกับวงกลมวิธีการคือการเชื่อมโยงรูปทรงของเรื่องราวให้เข้ากันด้วยการต่อเส้นโดยการเอาแปรงมาวางต่อระหว่างวงกลมกับโต๊ะให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน

 เอกภาพทางแนวคิดเรื่องรูปแบบ และเนื้อหา



ในภาพเป็นแนวคิดเรื่องเดียวกัน คื่อเรื่องความศรัทธา เนื้อหาของภาพเรื่องเดียวกันคือเจดีย์

เอกภาพทางเส้น การประสานกันของเส้นรูปทรงและพื้นผิว



ในภาพนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องเส้น ทิศทางของเส้น รูปทรงของเส้น พื้นผิวเหมือนกัน ผิวเรียบ และวัสดุชนิดเดียวกัน


สมดุล (Balance)

หมายถึง การถ่วงน้ำหนักที่เท่ากันสองข้างของสิ่งของหรือรูปทรงดุลยภาพเกิดจากการถ่วง ดุลของสิ่งที่ขัดแย้งกัน และจากการรวมตัวหรือการซ้ำของสิ่งที่เหมือนกันทั้งสองข้าง

สมดุลสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. สมดุลแบบเหมือนกันทั้งสองข้าง (Symmetrical or Formal Balance)
    หมายถึง ดุลภาพที่เกิดขึ้นจากความเหมือนกันและเท่ากันทั้งสองข้าง เช่น หน้าบันโบสถ์ ลายไทย โบสถ์ สถูปเจดีย์ ดุลยภาพประเภทนี้ให้ความรู้สึกเคร่งขรึม เป็นทางการ และ สงบ



2. สมดุลแบบคล้ายคลึงกันสองข้าง (Approximate Symmetry Balance) 
     หมายถึง ดุลยภาพที่เกิด ขึ้นจากลักษณะคลึงกันถ่วงดุลกัน เช่น ลวดลายบนตู้ลายรดน้ำ เป็นต้น



3. สมดุลแบบไม่เหมือนกันสองข้าง (Assymmetrical Balance) 
    หมายถึง ดุลยภาพที่เกิดขึ้นจาก ลักษณะที่สองข้างไม่เหมือนกัน แต่สามารถถ่วงกันได้


4. สมดุลแบบรัศมี (Radical Balance) 
     ดุลยภาพประเภทนี้เกิดจากแนวทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง และพุ่งออกจากจุด ศูนย์กลาง 
ทำให้ทิศทางสวนทิศทางกัน จึงเกิดดุลยภาพได้




ความตัดกัน (Contrast) 


         คือ การประกอบกันของทัศนธาตุ (Art Element) ต่างๆ ที่ขัดแย้งหรือตัดกัน ทั้งนี้จะ
         ต้องประสานสัมพันธ์กับความกลมกลืนด้วยในงานศิลปะแต่ละชิ้น ควรจะมีองค์ประกอบ
         ของศิลปะให้กลมกลืนเป็นส่วนใหญ่ และให้มีความตัด กันในส่วนน้อย เช่น การตกแต่งสี
         บ้าน ควรใช้สีที่ประสานกลมกลืนกันประมาณ 80% ของเนื้อที่ และอีก 20%ของเนื้อที่ควร
         มีสีที่มีความตัดกัน ความตัดกันนี้จะช่วยให้เกิดความเด่นและช่วย ให้งานศิลปะนั้นแลดูมี
         จุดสนใจ

ประเภทของความตัดกัน 
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ความตัดกันด้วยส่วนประกอบของทัศนธาตุได้แก่ความตัดกันของเส้น รูปร่าง รูปทรง        
    แสง-เงา ที่ว่าง สี และพื้นผิว


2. ความตัดกันหรือขัดแย้งกันตามธรรมชาติ ได้แก่ ความตัดกันซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ใน
    คน พืช    สัตว์  ฯลฯ เช่น ความตัดกันของสีของดอกไม้ สร้างความเด่น และความสวย
    งาม เป็นต้น




ความกลมกลืน (Harmony)

โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง


ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศนศิลป์ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความกลมกลืนถ้ามีมากเกินไป ก็อาจจะ ทำให้ผลงานนั้นอาจดูน่าเบื่อได้ จึงต้องมีการ เพิ่มการขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง (Contrast) เข้าไปร่วมบ้างเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลที่น่าสนใจขึ้น


การเน้น (Emphasis)

    คือการทำให้เกิดจุดเด่นในงานออกแบบที่ดีนั้นจะต้องให้ความสำคัญแก่ส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
 การเน้นจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความน่าสนใจและเพิ่มความงามและคุณค่าให้แก่
 งานออกแบบนั้น 
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
                    
1. เน้นจุดเด่นให้เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย
                    
2. เน้นให้เกิดความสวยงาม
                    
3. เน้นเพื่อสื่อความหมาย

การเน้นความแตกต่าง (Emphasis by Contrast)

    กฏเกณฑ์ทั่วไปคือ จุดสนใจเป็นผลมาจากองค์ประกอบสิ่งหสึ่งสิ่งใดที่มีความแตกต่างออกไป
จากสิ่งอื่นอะไรก็ตามที่มีขัดสายตาเวลามอง สิ่งนั้นเป็นการดึงดูดความสนใจด้วยความแปลก
ของตัวเอง ซึ่งมีทางเป็นไปได้มากมายไม่รู้จบ การเน้นด้วยการขัดกันนั้นเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบของภาพที่ขัดกับส่วนอื่นที่นำมาประกอบ สิ่งนั้นจะกลายเป็นจุดสนใจ สิ่งที่นำมาขัดกันนั้นจะเป็นรูปทรง เส้น สี น้ไหนักความเข้ม พื้นผิว หรือขนาดก็ย่อมเกิดผลสำเร็จได้




การเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยว(Emphasis by Isolation)
       
    การเน้นด้วยการขัดกันเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ของการเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยวเมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก  ออกจากส่วนอื่นๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นจะเป็นจุดสนใจ




การเน้นด้วยการวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement)
     
      การวางตำแหน่งในภาพเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างการเน้น ถ้าองค์ประกอบอื่นๆ ชี้มาที่จุดเดียวกัน ความสนใจก็จะมุ่งไปยังจุดนั้น




ระดับความหนักเบาของการเน้น (Degree of Emphasis)
          
     การสร้างองค์ประกอบที่ตัดกันในภาพไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างไรก็ตาม การเน้นจะต้องเป็นไปอย่าง ละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัด จุดสนใจจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของภาพทั้งหมด ไม่ใช่เป็นส่วนประกอบ
ซึ่งแปลกประหลาดอยู่ส่วนเดียว



การขาดจุดสนใจ (Absence of Focal Point)

     จุดสนใจที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไปสำหรับงานออกแบบที่ประสบความสำเร็จ
เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ศิลปินจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องใจของเขา














RETRO


RETRO


'เรโทร'  หมายถึงการหวนคืนสูอดีต ย้อนกลับไปวันวานยังหวานอยู่ ซึ้งมีความประทับใจไม่รู้ลืมเป็นความรู้ลึกๆ ในใจของผู้คนส่วนมาก และ เป็นการถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้แก่ ผู้เฒ่า มาสู่ลูกหลานในปัจจุบัน



ความหมายแบบไทยๆ ของ 'เรโทร' เป็นการปรับแต่งคุณค่าในอดีตให้ผสมผสานกับความเป็นอยู่ปัจจุบันอย่างลงตัว ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขขึ้น

จากความรู้สิ่งนี้ ทำให้มีการเสนอ และ ตอบสนองในเชิงการตลาด มีหลายท่านนำมาใช้ต่อยอดทำมาหากิน 'แนวเรโทร' กันอย่างกว้างขวาง ยังมีแนวโน้มเกิดเป็นความนิยมขยายขึ้นตลอดเวลา อย่างที่หลายท่านได้พบเห็นกันตามสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น เพลินวาน-หัวหิน, ตลาดอัมพวา-แม่กลอง, ตลาดสามชุก-สุพรรณ, ตลาดน้ำ4ภาค-พัทยา, สีลมวิลเลจ-บางรัก-ซอยสวัสดี-สุวรรณภูมิ, รายการตลาดสดสนามเป้า-ช่อง5 เป็นต้น


* ในเชิงวิชาการตลาด 'เรโทร' ยังสามารถแบ่งออก 4 ประเภทใหญ่ๆ *
การทำตลาดแบบ ย้อนยุค ประยุกต์เทรนด์ใหม่นั้น เป็นแนวคิดทำตลาดโดยมองย้อนไปในอดีต ถึง กระแสนิยมเดิมๆ ว่า แบรนด์ ภาพยนตร์ รถยนต์รุ่นใด เพลงยุคไหน แฟชั่นยุคใดดัง แล้ว หาสาเหตุการดังของมัน เหตุปัจจัยของมันว่า มันดัง มันนิยมเพราะอะไร หนอ หาคุณค่าร่วม Core Value ตัวนั้นขึ้นมา แล้วนำมาทำตลาด ซึ่งแนวทางการทำตลาดแบบ Retro นี้ สามารถแยกวิธีการออก เป็น 4 ประเภท

•  Retro Retro คือการ เอาของดีในอดีต มาใช้ทั้งแท่ง ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือดัดแปลงมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เคยขายดี เป็นที่นิยมในอดีตนำมา ทำซ้ำ หรือ ก็อปปี้ใหม่ เช่นโฆษณา มาร์โบโล คาว์บอย นำกลับมาใช้อีกครั้ง หนังดังนำกลับมาทำซ้ำ ทำนองเพลงเก่ามาร้องซ้ำ ที่เปลี่ยนคือแค่ตัวแสดง นักร้องใหม่ เท่านั้น หรือ Levi 501 นำกลับมาใหม่อีกครั้ง ศาสตร์ ฮวงจุ้ย โหวงเฮ้ง นำมาใช้อีกครั้ง

•  Retro Nova มีการผสมผสาน รูปลักษณ์ และโครง เก่า แต่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น นาฬิกา TAG Heuer ทำให้หน้าตาย้อนยุคไป ปี คศ 1930 แต่กลไก เป็น ไมโคชิพ ที่เดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ,วิทยุ ย้อนยุค โบราณปี 1950 ปุ่มปรับคลื่นวิทยุใหญ่ๆ แต่ ข้างในเป็นแผงวงจรชิพไฟฟ้าไม่ได้ใช้หลอดสุญญากาศ แบบวิทยุรุ่นเก่า มีช่องเสียบหูฟังสเตริโอ ที่เล่นเทป และ ซีดี

•  Retro Deluxe คือการผสมผสาน เรื่องเก่า (Past) กับเรื่องใหม่ (Present Trend) เข้าด้วยกัน ที่เรียก Hybrid ระหว่าง ดีไซน์เก่า กับใหม่ มาใช้ เช่น Star War แม้จะเป็นหนังอวกาศ แต่ พล๊อตเรื่องก็เน้นไปเรื่องเจ้าหญิง และอาณาจักร ดูแล้วเหมือนเรื่องราวเทพนิยายในอดีต แต่ได้ ผสมเรื่องแห่งอนาคต เข้าไป ตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่ขึ้นมา ตอนไตเติ้ลหนังคือ ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว กาแลกซีที่ห่างไกลออกไป จากโลก ได้มีอาณาจักรแห่งหนึ่ง .......... ฟังแล้วคุ้นๆ เหมือนในเทพนิยาย แต่เทคนิค การถ่ายทำทันสมัย และผสมบรรยากาศ หรือบริบท แห่งอนาคต อวกาศ ดวงดาวเข้าไปให้ดูทันสมัย นี่และ จ้อส์ ลูกัส หรือหนังจีนที่ดัง เรื่องเจาะเวลาหาจินซี หนังไทยเรื่องทวิภพ ที่มีการย้อนยุคเก่ากับยุคปัจจุบันมาผสมกัน การ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องเทพอสูรจิ้งจอกเงินพระเอก เป็นอสูรจิ้งจอก แต่งกายแบบซามูไรญี่ปุ่นในอดีต แต่นางเอกกับแต่งชุดนักศึกษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน เป็นการผสมวัฒนธรรมเก่ากับใหม่เข้าด้วยกัน ผลิตภัณฑ์ก็เหมือนกัน การออกแบบที่ใช้ แบบที่สืบสานวัฒนธรรมไทย ผสมผสานกับ เทรนด์แฟชั่นหรือดีไซน์จากอิตาลี เช่น อัญมณี ตามราศีที่มีเรื่องราวย้อนจากความเชื่อมแต่ออกแบบเป็นทันสมัย แม้กระทั่ง รองเท้าฟุตบอล อาดิแดสรุ่นใหม่สีเทาอ่อน อุตส่าห์ใส่ มังกรเข้าไปที่รองเท้า ซี่งมังกรเป็นสัตว์ในความเชื่อโบราณของจีน

•  Retro Futurism แนวนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบรุ่นใหม่ ที่ย้อนเวลาเจาะเทรนด์ในอดีต กระแสนิยมดั่งเดิม Past ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วหาตัวแปรร่วม Core Value ในขณะเดียวกันก็พยากรณ์กระแส แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไป 3-5 ปีข้างหน้า (Future) แล้ว เอาของเก่า ผสมกับความคิดแห่งอนาคต ดังนั้นจะมีการทำวิจัย ย้อนไปในอดีตถึงกระแสในอดีต ที่มาของความนิยมเก่าๆ และการวิจัยวิเคราะห์ แนวโน้มในอนาคตข้างหน้า แล้วนำมาหาตัวแปรร่วม ออกมา เช่น การวิจัยว่าโฟลค์เฒ่ามีอะไรดี พบว่า มี เรื่อง ซื่อสัตย์ เรียบง่าย ประหยัด และเป็นรถคันแรกของคนรุ่นใหม่ในตอนนั้น ที่ต้องการแหวกกฎไม่ขับรถคันโต พวกนี้ต้องการความต่าง ไม่ต้องการเหมือนใคร จากการวิจัยผู้บริ โภคพบว่า วงกลมได้สื่อถึงความเรียบง่ายอย่างชัดเจน รถยนต์ที่ออกมาใหม่จึงมีส่วนโค้งมนเป็นวงกลม ทั้ง หลังคา ที่บังโคลนรถ กระโปรงหน้ารถ และท้ายรถโค้งวงกลม และโฆษณา ก็เน้นย้ำ รถสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่าง หรือกบฏ จากของพื้นๆทั่วๆไป แนวทางนี้ถือเป็นแนวทางที่นักออกแบบชั้นนำของโลกใช้ทำมาหากินอยู่

จะเห็นได้คำว่า 'เรโทร' มีความหมายที่กว้างทั้งในความรู้สึก และ ในเชิงวิชาการ จึงขอให้นิยามสั้นๆ


VPAT


                                                VPAT

หัวข้อหลัก


หัวข้อที่ 1 
ตัวแปรต้น   : ออกแบบ หน้าปกนิตยสาร (Magazine cover)
ตัวแปรตาม : สร้างหน้าปกนิตยสาร ในประเทศไทย

ตัวอย่าง

 แนวโน้มของนิตยสารในปัจจุบันมุ่งดึงดูดผู้อ่านเฉพาะกลุ่มเพิ่มขึ้น  เนื้อหาของนิตยสารจึงค่อนข้างจะเน้นเฉพาะ ด้านมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ลักษณะความหลากหลายของข้อเขียน หรือคอลัมน์ในนิตยสาร  ยังแสดงให้เห็นความแตกต่าง ของนิตยสารจาก ลักษณะหนังสือทั่วไปที่จะมีเนื้อหาเป็นเรื่อง เดียวกันทั้งเล่มได้   ลักษณะเด่นของ นิตยสารที่แตกต่างไปจากหนังสือทั่วไป คือ 
 1. นิตยสารจะเน้นในการเสนอบทความสารคดี  และข้อเขียนต่าง ๆ ที่ให้ความรู้และความบันเทิง กับผู้อ่านได้มากกว่า และละเอียดกว่า
 
 2. นิตยสารมีโฆษณาที่สวยสะดุดตากว่า

 3. นิตยสารมีการจัดหน้าที่สวยงามและพิถีพิถันมากกว่า

 4. นิตยสารมีรูปเล่มกะทัดรัดหยิบถือได้สะดวกกว่า

 5. ปกนิตยสารจะมีขนาดประมาณ 8 1/2  คูณ  1 11/2 นิ้ว  หรือขนาด A4 หรือ 8 หน้ายก  บางฉบับก็มีขนาดใหญ่เท่ากับ หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (tabloid) แต่บางเล่มก็เล็กเกือบพอ ๆกับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ก

 6. นิตยสารส่วนใหญ่จะมีปกที่พิมพ์ด้วยกระดาษหนากว่าหน้าข้างใน ปกจะมีสีสัน และรูปภาพสวยงามสะดุดตาเย็บรวมกับเนื้อใน ส่วนความหนาหรือจำนวนหน้าของนิตยสารนั้น
ไม่แน่นอน 
 7. นิตยสารหลายฉบับจะเสนอเนื้อหาข่าวในเล่มด้วยแต่ส่วนมากจะเป็นการสรุปข่าว  หรือวิจารณ์ข่าว



หัวข้อที่ 2
ตัวแปรต้น   : ออกแบบ หน้าปกนวนิยาย Romance fiction )
ตัวแปรตาม : สร้างหน้าปกหนังสือนวนิยายรัก ในประเทศไทย

ตัวอย่าง
converse-cover

นวนิยายรัก ( Romance fiction ) เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวของความรักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแกนกลางของเรื่อง จะเป็นเรื่องที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นสำคัญ นวนิยายประเภทนี้มีมากที่สุดในตลาดนวนิยาย และพล็อตเกี่ยวกับความรักก็จะสอดแทรกเข้าไปอยู่ในนวนิยายเกือบทุกประเภท



หัวข้อที่ 3 
ตัวแปรต้น   : ออกแบบ หน้าปกหนังสือการ์ตูน 
ตัวแปรตาม : สร้างหน้าปกหนังสือการ์ตูน ในประเทศไทย

ตัวอย่าง

หนังสือการ์ตูน เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ภาพและคำพูดประกอบ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตามเนื้อเรื่องที่เขียนขึ้น มีทั้งที่อ้างอิงจากความจริง และเกิดจากความคิดของนักวาดการ์ตูน หรือนักแต่งการ์ตูน เป็นผู้วางเอาไว้ 

ที่มา : http://th.wikipedia.org


หัวข้อที่ 4
ตัวแปรต้น   : ออกแบบ หน้าปกสารคดี
ตัวแปรตาม : สร้างหน้าปกหนังสือสารคดีการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ตัวอย่าง


สารคดี หมายถึง หนังสือที่มีเนื้อหาสาระ เป็นเรื่องราวที่เขียนเกี่ยวกับบุคคล หรือเหตุการณ์ที่เป็นจริงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ ความคิด และความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน สารคดีกับบทความมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่สารคดีมีความรู้เป็นแก่น มีความคิดเห็นเป็นส่วนประกอบ แต่บทความจะมีความคิดเห็นเป็นแก่น และมีความรู้เป็นส่วนประกอบ อีกทั้งสาคดีต้องใช้สำนวนโวหารที่คมคาย ลึกซึ้งชวนอ่านและให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่บทความไม่ต้องคำนึงถึงความสนุกสนานก็ได้ เนื้อหาที่จะนำมาเขียนนั้นเป็นความรู้ ข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ้งแล้วแต่ผู้เขียนว่าจะถนัดเขียนเรื่องแบบใด

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sickboy&month=02-2007&date=04&group=1&gblog=49







วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


การตั้งชื่องานวิจัย

V = VARIABLE
ตัวแปรต้น : PRODUCT
ตัสแปนตาม : DESIGN
P=POPULATION
ประชากร : N ->กลุ่มตัวอย่าง
A= AREA
T= ช่วงเวลา


นิตยสาร (อังกฤษmagazine

คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้
คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ.ส.ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม

การตีพิมพ์
องค์ประกอบของนิตยสารอาจมีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก องค์ประกอบหลัก เช่น วาระการออก รูปแบบ เป้าหมายกลุ่มผู้อ่านมีความผันแปรหาความตายตัวไม่ได้ นิตยสารบางฉบับจะเจาะเรื่องที่น่าสนใจเฉพาะ เช่น เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะ งานอดิเรก หรือการเมือง รวมทั้งแนวศิลปะ บันเทิง แฟชั่น รถยนต์ ท่องเที่ยวระยะการออกจึงมีตั้งแต่รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ราย 3 เดือน (quarterly) ราย 6 เดือนไปจนถึงรายปี
ปกตินิตยสารจะมีวันที่ปรากฏบนปกซึ่งมักล่าจากวันที่วางตลาด นิตยสารเกือบทั้งหมดจะวางจำหน่ายตามร้านและแผงขายหนังสือทั่วประเทศ ผู้บอกรับเป็นสมาชิกจะได้รับนิตยสารทางไปรษณีย์
นิตยสารส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในจำนวนที่มากและพยายามทำให้ต้นทุนการพิมพ์ต่ำเพื่อให้มีราคาขายต่ำ นิตยสารบางประเภทที่มีต้นทุนการพิมพ์สูงมักอาศัยการลงโฆษณามาช่วยลดราคาขายให้ต่ำลง
นิตยสารทุกเล่ม จะต้องขออนุญาตจัดพิมพ์จากทางราชการ และได้รับหมายเลขสากลประจำนิตยสาร เรียกว่า ISSN (International Standard Serial Number) ซึ่งนิตยสารจะตีพิมพ์ไว้ในส่วนที่เห็นชัดของเล่ม เช่น ปกหน้า สารบัญ สันปก หรือปกหลัง

ABOUT ME


นางสาวนุศรา สุนา
สาขาวิชา ศิลปกรรม (นิเทศน์ศิลป์)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Webblog นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ARTI3901 ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
อาจารย์ผู้สอน จารุณี เนตรบุตร